กสอ. สานต่อโครงการ “ดีพเทคสตาร์ทอัพ” รุ่นที่ 2 เผยมีโมเดลธุรกิจ 25 ทีม คาดมีเงินทุนสนับสนุนกว่า 500 ล้านบาท

กสอ. สานต่อโครงการ “ดีพเทคสตาร์ทอัพ” รุ่นที่ 2 เผยมีโมเดลธุรกิจ 25 ทีม คาดมีเงินทุนสนับสนุนกว่า 500 ล้านบาท ตลาดอุตสาหกรรมไทย นวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้า 040721 0223 1

หนุนสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ให้มีความพร้อม แข่งขันในตลาดธุรกิจเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน

กสอ. สานต่อโครงการ “ดีพเทคสตาร์ทอัพ” รุ่นที่ 2 เผยมีโมเดลธุรกิจ 25 ทีม คาดมีเงินทุนสนับสนุนกว่า 500 ล้านบาท ตลาดอุตสาหกรรมไทย นวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้า 040721 0223 2

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม สานต่อโครงการ (DIPROM) เพื่อเร่งสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจใหม่ หรือ สตาร์ทอัพ ให้มีความพร้อมผ่านกิจกรรมเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup Connect) รุ่นที่ 2 มุ่งเน้นการสนับสนุนเงินทุนเพื่อขยายฐานตลาด และสร้างเครือยข่าย ผลักดันการนำนวัตกรรมไปใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน ผ่านกลยุทธ์ในการขยายเครือข่ายผู้ประกอบการ ขยายเครือข่ายเงินทุน ขยายเครือข่ายตลาด และขยายเครือข่ายนานาชาติ โดยคัดเลือกผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ 25 ทีม ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูง หรือ อุตสาหกรรม ดีพเทค (Deep Technology) เข้าร่วมโครงการ

กสอ. สานต่อโครงการ “ดีพเทคสตาร์ทอัพ” รุ่นที่ 2 เผยมีโมเดลธุรกิจ 25 ทีม คาดมีเงินทุนสนับสนุนกว่า 500 ล้านบาท ตลาดอุตสาหกรรมไทย นวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้า 040721 0223 3

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผ่านโครงการดีพร้อม (DIPROM) เร่งสานต่อโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจใหม่ หรือ สตาร์ทอัพ (Startup) ที่ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 2,000 ราย ให้มีทักษะทางธุรกิจเพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์ที่สร้างรายได้อย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นฐานอุตสาหกรรมในอนาคต โดยในปีที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวสามารถที่จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกว่า 350 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2564 นี้ตั้งเป้าว่าจะต้องสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 2 เท่า หรือประมาณ 700 ล้านบาท

สำหรับกลยุทธ์ในการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการนั้นจะใช้กลไกการเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อส่งเสริมเงินทุนและการตลาด ในการสนับสนุนให้สตาร์ทอัพประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วย 4 แนวทาง ประกอบด้วย 1.การขยายเครือข่ายสตาร์ทอัพ เพื่อเฟ้นหาสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ มาบ่มเพาะให้มีความพร้อมในการนำเสนอโมเดลธุรกิจกับนักลงทุน 2.การขยายเครือข่ายเงินทุน โดยสร้างเครือข่ายกับบริษัทเอกชนที่มีศักยภาพและสนใจร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพที่ได้รับการบ่มเพาะ เพื่อสร้างความมั่นใจในการร่วมดำเนินธุรกิจ 3.การขยายเครือข่ายตลาด โดยส่งเสริมให้หน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมหรือเครือข่ายนำโซลูชั่นของสตาร์ทอัพไปใช้งานจริง เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพและนวัตกรรมของไทยและ4.การขยายเครือข่ายนานาชาติ เพื่อต่อยอดไปยังตลาดที่มีมูลค่าสูงขึ้น รองรับความต้องการจากต่างประเทศในอนาคต

กสอ.เผยรุ่นที่ 2 มีโมเดลธุรกิจจำนวน 25 ทีม คาดมีเงินทุนสนับสนุนจาก Angel Fund กว่า 500 ล้านบาท

กสอ. สานต่อโครงการ “ดีพเทคสตาร์ทอัพ” รุ่นที่ 2 เผยมีโมเดลธุรกิจ 25 ทีม คาดมีเงินทุนสนับสนุนกว่า 500 ล้านบาท ตลาดอุตสาหกรรมไทย นวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้า 040721 0223 4

ดร.ณัฐพล รังสิตพลอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวว่า โครงการดีพร้อม ของ กสอ. เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 มีสตาร์ทอัพสนใจสมัครเข้าร่วมจำนวนมาก โดยทาง กสอ มุ่งเน้นคัดเลือกผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ 4 สาขา ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงในตลาดโลก ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Industrial Tech) สาขาเทคโนโลยีการแพทย์ (Medical Tech)  สาขาเทคโนโลยีการเงิน (Fin Tech) และสาขาไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Tech) ซึ่งมีนวัตกรรมที่น่าสนใจ เช่น นวัตกรรมแพลตฟอร์มวินิจฉัยปัญหาและควบคุมระบบปรับอากาศแบบอัจฉริยะที่สามารถประหยัดพลังงานได้ไม่น้อยกว่า 20% , นวัตกรรมระบบเก็บข้อมูลหมายเลขทะเบียนรถยนต์และรถบรรทุกแบบอัตโนมัติผ่านระบบปัญญาประดิษฐ์  (AI) และกล้อง CCTV นวัตกรรมช่องทางการรับชำระเงินที่หลากหลาย (Payment Gateway) พร้อมระบบจัดเก็บข้อมูลเพื่อการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM Feature Subscription), นวัตกรรมเครื่องช่วยฝึกเดินสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสฟื้นตัวได้ดีกว่าวิธีการกายภาพบำบัดและนวัตกรรมระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์พิเศษเปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นกระแสไฟฟ้า (BioCircuit) เป็นต้น ซึ่งนวัตกรรมที่ผ่านการคัดเลือกและบ่มเพาะส่วนใหญ่ อยู่ในรูปแบบแพลตฟอร์ม ที่เกิดขึ้นจากการกำหนดปัญหาเป็นมูลเหตุ ต่อยอดพัฒนาเป็นนวัตกรรม ที่นำองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาในแต่ละสาขาชิ้นงานผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมมีคุณภาพ สามารถนำไปต่อยอดนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ และเป็นตัวกลางเชื่อมโยงสู่แหล่งเงินทุนคุณภาพ เพิ่มอัตราการอยู่รอดของธุรกิจใหม่ และสนับสนุนการคิดค้นนวัตกรรมในอนาคต

“ในรุ่นที่ 2 ของโครงการนี้มีจำนวนผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมทักษะและการพัฒนาโมเดลธุรกิจ จำนวน 25 ทีม คาดว่าจะเกิดความร่วมมือทางธุรกิจ ผ่านการสนับสนุนเงินทุนประมาณกว่า 500 ล้านบาทจากกองทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ หรือ Angel Fund ที่มีภาคเอกชนอย่างบริษัท เดลต้าอีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้การสนับสนุนเป็นปีที่ 6 แล้วในขณะนี้ โดยมุ่งเป้าพัฒนาและส่งเสริม Startup ด้านเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Technology) เพื่อให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ด้วยการใช้นวัตกรรมหรือองค์ความรู้ในอุตสาหกรรม ช่วยลดการนำเข้านวัตกรรมจากต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 150 ล้านบาท” ดร.ณัฐพล กล่าว

สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการในปี’63 ส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้านต้นทุนในการทำธุรกิจ

สำหรับอุปสรรคของการเติบโตของสตาร์ทอัพที่ดำเนินโครงการในปีพ.ศ.2563 ที่ผ่านมาพบว่า สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมส่วนใหญ่จะประสบปัญหาด้านต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากเป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพรายใหม่ที่ยังไม่มีเงินทุน ไม่เป็นที่รู้จักและสถานะทางการเงินยังไม่สามารถที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ได้ง่ายกว่าผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว ทั้งต้นทุนในเชิงทักษะทางธุรกิจและต้นทุนในเชิงจำนวนเงิน จึงได้จัดกิจกรรมเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ Startup Connect ในประเภทอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงโดยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูง หรือ อุตสาหกรรมดีพเทค (Deep Technology) สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนคุณภาพจากบริษัทเอกชนชั้นนำที่สนใจลงทุน ในการต่อยอดธุรกิจ ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องพัฒนาตนเองและพร้อมที่จะเปิดรับกิจกรรมบ่มเพาะ กิจกรรมแนะนำการทำการส่งเสริมการตลาดต่างๆผ่านผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้ามาช่วยแนะนำถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อเพิ่มขีดความสามรถและค้นพบจุดเด่นจุดที่ต้องปรับปรุงในแต่ละผลิตภัณฑ์ของตนเองเพิ่มเติมด้วย

แผ่นปิดแผลแบบก้าวหน้าหวังต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม ตรงตามความต้องการของตลาดทุกรูปแบบ

กสอ. สานต่อโครงการ “ดีพเทคสตาร์ทอัพ” รุ่นที่ 2 เผยมีโมเดลธุรกิจ 25 ทีม คาดมีเงินทุนสนับสนุนกว่า 500 ล้านบาท ตลาดอุตสาหกรรมไทย นวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้า 040721 0223 5

นพ.การุณ ตรงนำชัย ศัลยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านการดูแลแผลของผู้ป่วยมากว่า 20 ปี ซึ่งเป็นผู้คิดค้นผลิตแผ่นปิดแผลแบบก้าวหน้า Hydromesh และ Hydromesh SN  กล่าวว่า แผ่นปิดแผลแบบก้าวหน้า Hydromesh และ Hydromesh SN เป็นนวัตกรรมใหม่ที่คิดค้นจากการทำงานที่เห็นผู้ประสบเหตุมีแผลมาทำการรักษาที่โรงพยาบาล จะต้องถูกเจ้าหน้าที่ทำการล้างแผลใหม่ในทุก ๆวันลอกผ้าปิดแผลแล้วผู้ประสบเหตุ หรือผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังจากการเป็นโรคมะเร็ง และโรคเบาหวานจะต้องทนทุกข์ทรมานกับการทำแผลล้างแผลบ่อย ๆ และทำให้เสียเวลาในการล้างแผลทุก ๆวัน  โดยนวัตกรรมนี้จะเป็นการนำเอา Hydrogel มา Coat บน Mesh และเพิ่มเติมสาร Silver Nano เพียงใช้ผ้าปิดแผล ที่ถูกคิดค้นมาเพื่อช่วยให้สามารถทำแผลได้เองง่ายๆที่บ้าน เพียงทำความสะอาดแผลและนำแผ่นปิดแผลติดทับบริเวณบาดแผล ผ้าปิดแผลถูกออกแบบมาพิเศษเคลือบด้วยสาร Hydrogel  Dressing   ช่วยในการดูดซับของเหลว และยังช่วยรักษาสมดุลของแผล ช่วยให้แผลหายเร็ว ลดการเกิดแผลเป็น ด้วยวัสดุที่ออกแบบมาพิเศษ ยังช่วยให้แผ่นปิดแผลไม่ติดแผล ลดอาการเจ็บปวดจากการเปลี่ยนผ้าปิดแผล และไม่ต้องเสียเวลาในการทำแผลทุกวัน เนื่องจากสามารถปล่อยทิ้งผ้าปิดแผลไว้ได้นานถึง 3 วัน แล้วถึงทำการเปลี่ยนผ้าปิดแผลแผ่นใหม่ ซึ่งเริ่มต้นวิจัยและพัฒนาจากระดับห้องปฏิบัติการจนสามารถทำการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมประมาณ 3 ปี ได้รับทุนวิจัยยสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (RMUTK), หน่วยงานสนับสนุนการวิจัยและวิศวกรรมภาคเอกชนของ สวทช. (CDP) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)

นอกจากนี้ยังได้รับมาตรฐาน GMP จากองค์การอาหารและยา (อย.) ซึ่งได้ทดลองใช้ในผู้ป่วยที่คณะแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และสามารถซื้อได้ทางช่องทางจำหน่ายออนไลน์ และร้านขายยาขององค์การเภสัชกรรมในบางสาขาแล้วในขณะนี้

“สำหรับการเข้ามาร่วมโครงการ ดีพร้อม ของ กสอ. นั้นหวังว่าจะได้องค์ความรู้ คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเพื่อนำไปช่วยพัฒนาต่อยอดสร้างรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม ดึงดูดผู้บริโภคให้สนใจซื้อไปใช้ บรรจุภัณฑ์ที่สวยงามได้มาตรฐาน ตรงกับความต้องการของตลาดทุกรูปแบบทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศมากยิ่งขึ้น รวมทั้งสร้างจุดเด่นเฉพาะสำหรับตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง หรือนำสมุนไพรไทยมาผสมผสานสานแผ่นปิดแผลที่ยากแก่การเลียนแบบ เป็นต้น” นพ.การุณ กล่าว

ตลาดอุตสาหกรรมไทย
Logo